เมนู

ธาตุ 6



ดูก่อนอานนท์ มี ธาตุที่มี 6 อย่าง ได้แก่ ธาตุคือดิน 1 ธาตุ
คือน้ำ 1 ธาตุคือไฟ 1 ธาตุคือลม 1 ธาตุคืออากาศ 1 ธาตุคือ
วิญญาณ 1
ดูก่อนอานนท์ ธาตุ 6 อย่างเหล่านี้แล แม้ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่
เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ
[239] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปริยายแม้อื่น ที่ควรเรียกว่า
ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ จะพึงมีอีกหรือไม่.

ธาตุ 6 อีกอย่างหนึ่ง



พ. ดูก่อนอานนท์ มี ธาตุนี้มี 6 อย่าง ได้แก่ ธาตุคือสุข 1
ธาตุคือทุnข์ 1 ธาตุคือโสมนัส 1 ธาตุคือโทมนัส 1 ธาตุคืออุเบก-
ขา 1 ธาตุคืออวิชชา 1
ดูก่อนอานนท์ เหล่านั้นแล ธาตุ 6 อย่าง แม้
ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ
[240] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จะยังมีปริยายแม้อื่นหรือไม่
ที่ควรเรียกว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ

ธาตุ 6 อีกอย่างหนึ่ง



พ. ดูก่อนอานนท์ มี ธาตุนี้มี 6 ธาตุ ได้แก่ ธาตุคือกาม 1
ธาตุคือเนกขัมมะ 1 ธาตุคือพยาบาท 1 ธาตุคือความไม่พยาบาท 1
ธาตุคือความเบียดเบียน 1 ธาตุคือความไม่เบียดเบียน 1
ดูก่อน
อานนท์ ธาตุ 6 อย่างเหล่านั้นแล แม้ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ จึงควร
เรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ.
[241] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จะยังมีปริยายแม้อื่นหรือไม่
ที่ควรเรียกว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ.

ธาตุ 3



พ. ดูก่อนอานนท์ มี ธาตุนี้มี 3 อย่าง ได้แก่ ธาตุคือกาม 1
ธาตุคือรูป 1 ธาตุคืออรูป 1
ดูก่อนอานนท์ ธาตุ 3 อย่างเหล่านี้แล
แม้ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ.
[242] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จะยังมีปริยายแม้อื่นหรือไม่
ที่ควรเรียกว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ.

ธาตุ 2



พ. ดูก่อนอานนท์ มี ธาตุนี้มี 2 อย่าง คือ สังขตธาตุ 1 อสัง-
ขตธาตุ
ดูกรอานนท์ ธาตุ 2 อย่างเหล่านี้แล แม้ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่
เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ.
[243] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ด้วยเหตุเท่าไรจึงควรเรียกว่า
ภิกษุผู้ฉลาดในอายตนะ.

อายตนะภายใน - ภายนอก อย่างละ 6



พ. ดูก่อนอานนท์ อายตนะทั้งภายในและภายนอกนี้ มีอย่างละ 6
แล คือ จักษุและรูป 1 โสตะและเสียง 1 ฆานะและกลิ่น 1 ชิวหา
และรส 1 กายและโผฏฐัพพะ 1 มโนและธรรมารมณ์ 1
ดูก่อน
อานนท์ อายตนะทั้งภายในและภายนอกอย่างละ 6 เหล่านี้แล แม้ด้วยเหตุ
ที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในอายตนะ.
[244] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ด้วยเหตุเท่าไรจึงควรเรียกว่า
ภิกษุผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท.

ปฏิจจสมุปบาท



พ. ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า เมื่อ
เหตุนี้มี ผลนี้จึงมี เพราะเหตุนี้เกิดขึ้น ผลนี้จึงเกิดขึ้น เนื้อเหตุนี้ไม่มี ผล